ความมีสาระสำคัญเชิงปริมาณ
1.ความมีสาระสำคัญสำหรับงบการเงินโดยรวม (Overall Materiality) เรากำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดกลยุทธ์การตรวจสอบและใช้เป้นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเราจะยอมรับหรือปฏิเสธการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่พบไม่ว่าเป็นรายการเดี่ยวหรือหลายรายการรวมกันโดยคำนึงถึงความมีสาระสำคัญนี้และผลกระทบต่องบการเงินโดยรวม (เปรียบเหมือนว่าเขาคือเสาหลักของบ้าน)
2.ความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงาน (Performance Materiality) การกำหนดความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงานต้องมีการเผื่อไว้สำหรับการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจจะตรวจไม่พบ ชาวออดิทจะใช้ความมีสาระสำคัญสำหรับงบการเงินโดยรวมมาเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติงานตรวจสอบไมได้ แต่ต้องลดทอนลงมา กล่าวคือ ต้องกำหนดความมีสาระสำคัญในการปฏิบัติงานให้ต่ำกว่า ซึ่งจะต่ำเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ เมื่อได้ตัวเลขนี้แล้ว ชาวออดิทต้องนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนพิจารณาเลือกว่าถ้ารายการใดในงบการเงินมียอดคงเหลือสูงเกินตัวเลขนี้ ชาวออดิทต้องเลือกที่จะตรวจสอบ แต่ถ้ารายการใดยอดคงเหลือต่ำกว่าตัวเลขนี้ ก็ให้ชาวออดิทพิจารณาว่าจำเป็นต้องตรวจสอบหรือไม่ นอกจากนี้เรายังใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความเพียงพอของรายการที่เลือกตรวจสอบในช่วงปฏิบัติงานด้วย
3.ความมีสาระสำคัญสำหรับประเภทของรายการ ยอดคงเหลือทางบัญชี หรือการเปิดเผยข้อมูลของรายการใดรายการหนึ่งเป็นการเฉพาะ (Materiality for particular classes of transactions,account balances or disclosures) กล่าวคือ ชาวออดิทอาจพิจารณาเห็นว่ามีรายการบางรายการในงบการเงินที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษโดยกำหนดความมีสาระสำคัญเฉพาะให้กับรายการเหล่านั้น ซึ่งจะต่ำกว่าความมีสาระสำคัญของข้อ 1)และ 2)
4.การแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง (Misstatement) กับความไม่สำคัญอย่างแน่ชัด (Clearly trivial) เรากำหนดขึ้นเพื่อเป็นเกณฑ์ในการรวบรวมรายการที่แสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง โดยรายการใดที่ตรวจพบแล้วมียอดเงินต่ำกว่า misstatement level ชาวออดิทก็สามารถละทิ้งไปได้ แต่หากสูงกว่า ชาวออดิทก็จะรวบรวมมาเพื่อเสนอให้กิจการปรับปรุงรายการเหล่านี้ นอกจากนี้ชาวออดิทอาจใช้เพื่อเป็นเกณฑ์พิจารณาละทิ้งไม่ตรวจสอบหากพบว่า รายการใดไม่สำคัญอย่างแน่ชัด
5.ความมีสาระสำคัญที่พิจารณาจากปัจจัยเชิงคุณภาพ
|