1.การยกเว้นภาษี
รัฐได้มีนโยบายยกเว้นภาษีเพื่อบรรเทาภาระหรือสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจต่างๆโดยมีการยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากรที่สำคัญ ดังนี้
-เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก
-เงินได้จากกิจการโรงเรียนราษฎร์
-เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
-เงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1.8 ล้านบาท ฯลฯ
2.การลดอัตราภาษี
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอัตราภาษีเพื่อใช้จัดเก็บภาษีแต่ละประเภทไว้ ดังนี้
-กำไรสุทธิเกินกว่า 300,000 บาทแต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ในอัตรา 15%
-กำไรสุทธิของบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในอัตรา 20%
-กำไรสุทธิของบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 25 ฯลฯ
3.รายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า
ปกติการประกอบธุรกิจต่างๆรายจ่ายที่จ่ายเพื่อกิจการสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง มีบางกรณีที่กฏหมายให้หักได้น้อยกว่าที่จ่ายจริง หรือไม่ยอมให้หักเป็นรายจ่าย ดังนั้น การหักรายจ่ายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฏหมายกำหนดไว้
อย่างไรก็ตามรัฐได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ สนองนโยบายการประหยัดพลังงานและส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจหรือนโยบายทางด้านสังคม จึงกำหนดให้มีมาตรการทางภาษีที่สำคัญยอมให้หักรายจ่ายได้มากกว่าที่จ่ายจริง สรุปได้ดังนี้
-รายจ่ายในการฝึกเตรียมเข้าทำงานสำหรับกิจการผู้ดำเนินการฝึก หักได้ 2 เท่า
-รายจ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษาสำหรับโรงเรียนสถานศึกษา สถาบันอุดมศึกษาทั้งของทางราชการและเอกชน หักได้ 2 เท่า
4.การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่งฯ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ซื้อทรัพย์สินมาใช้งาน หากทรัพย์สินนั้นใช้งานเกิน 1 รอบระยะเวลาบัญชี กฏหมายกำหนดให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา โดยกำหนดประเภททรัพย์สินและอัตราที่ให้หักค่าสึกหรอฯไว้ในพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 145) ดังนี้
-เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หักร้อยละ 40 ในวันที่ได้มา ส่วนที่เหลือทยอยหักตามเงื่อนไขที่กำหนด
|